39
ขยายกำหนดเวลาดำเนินการตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ประจำปี พ.ศ. 2566
129
กำหนดการขยายระยะเวลาการแจ้งประเมินและชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
118
กำหนดการขยายระยะเวลาการแจ้งประเมินและชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562
127
การชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชำระภายในเดือนมีนาคม-เมษายน 2565
การชำระภาษีป้าย ชำระภายในเดือนมกราคม-มีนาคม 2565 หากพ้นกำหนดจะมีค่าปรับตามรายละเอียดในป้าย
135
บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง ประจำปี 2565
259
องค์การบริหารส่วนตำบลคุระ เรื่อง ขอขยายเวลาชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และการงดเบี้ยปรับ/เงินเพิ่มตามพระราชบัญณัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562
252
ราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อัตราที่จัดเก็บ และรายละเอียดอื่นที่จำเป็น ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประจำปี 2563 ตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562
341
การชำระภาษี
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดินหรือใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ อัตราภาษีโรงเรือนและที่ดิน ร้อยละสิบสองครึ่งของค่ารายปี (หมายถึง จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้น สมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ )
ขั้นตอนการชำระภาษี
1. เจ้าของทรัพย์สิน ต้องยื่นแบบ (ภ.ร.ด.2) ภายในเดือน กุมภาพันธ์ของทุกปี
2. พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพิจารณา และถ้าเห็นจำเป็น มีอำนาจสั่งให้ผู้รับประเมินแสดงรายการเพิ่มเติมได้
3. พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดค่ารายปีของทรัพย์สินและค่าภาษีที่จะต้องชำระแจ้งผู้ประเมิน (ภ.ร.ด.8)
4. ผู้เสียภาษีจะต้องชำระภาษี ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
5. ถ้าผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ไม่ชำระภายในกำหนด ถือเป็นภาษีค้างชำระ และจะต้องเสียเงินเพิ่ม
การอุทธรณ์ (การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่)
กรณีที่ผู้รับประเมินไม่พอใจในการประเมิน ของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ยื่นคำร้อง (ภ.ร.ด. 9) ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ต่อคณะเทศมนตรี ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด. 8)
บทกำหนดโทษ
ผู้ใดละเลย หลีกเลี่ยงการชำระภาษีโรงเรือน และที่ดิน มีความผิดตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ตามมาตรา 46,47 และ 48
การผ่อนชำระค่าภาษี
1. วงเงินภาษีตั้งแต่เก้าพันบาท ขึ้นไป
2. ต้องยื่นแบบรายการทรัพย์สิน ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของปีนั้น
ภาษีบำรุงท้องที่
ที่ดินที่ต้องสำรวจเพื่อจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ คือ ที่ดิน หมายถึงพื้นที่ดินและให้หมายถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขา หรือที่มีน้ำด้วยที่เป็นกรรมสิทธ์ของบุคคล ไม่ว่าเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล รวมทั้งที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน แต่อยู่ในครอบครองของบุคคลหรือคณะบุคคลดังกล่าว ท่านเจ้าของที่ดิน ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียบำรุงท้องที่ ภายในเดือนมกราคม ของปีแรก ที่มีการตีราคาปานกลางที่ดิน(กำหนดการตีราคาปานกลางที่ดินสี่ปีครั้ง) และกำหนดชำระภาษีบำรุงท้องที่ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม – 30 เมษายน ของปี สำหรับที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ ตามควรแก่ สภาพของดิน ให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่า หากปรากฏว่าเจ้าของที่ดิน ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่มิได้ยื่นแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแจ้งการประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี นับแต่ทราบว่าเจ้าของยังมิได้ยื่นแบบ(มาตรา 48)
บทกำหนดโทษ
- ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของเงินภาษี
- ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง ทำให้เสียภาษีบำรุงท้องที่น้อยลงให้เสียเพิ่มร้อยละสิบของภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
- ชี้เขตแจ้งจำนวนที่ดินที่ไม่ถูกต้องทำให้เสียภาษีลดลง ให้เสียเงินเพิ่มอีกหนึ่งเท่าของภาษีบำรุงท้องที่ ที่ประเมินเพิ่มเติม
- ไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในกำหนด(1 มกราคม – 30 เมษายน ของปี) ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบสี่ต่อปี
- ผู้ใดรู้ หรือจงใจแจ้งความอันเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีบำรุงท้องที่โทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ผู้ใดขัดขวางหรือฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ ในการเร่งรัด ภาษีบำรุงท้องที่ ต้องระวางโทษไม่เกินหนึ่งเดือนปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ภาษีป้าย
ป้ายที่ต้องเสียภาษี ต้องเป็นป้ายแสดงชื่อยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้ หรืโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
1.เจ้าของป้าย(หมายถึง เจ้าของ ผู้แทน ตัวแทน ผู้จัดการมรดก ผู้จัดการทรัพย์สิน ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์) ต้องยื่นแสดงรายการภายในเดือนมีนาคม ของปี
2. ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่
- ติดตั้งหรือแสดงป้าย อันต้องเสียภาษีภายหลังเดือนมีนาคม
- ติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม และมีพื้นที่ข้อความและเครื่องหมายอย่างเดียวกับป้ายเดิมที่ได้เสียภาษีแล้ว
- เปลี่ยนแปลงแก้ไข พื้นที่ป้าย ข้อความภาพหรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีแล้วอันเป็นเหตุให้ต้อง เสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น
3. ในกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นแบบ และไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้เสียภาษี หากไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้เสียภาษี หากไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายให้ถือว่าผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้น
ติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ
การอุทธรณ์
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ที่ได้รับแจ้งการประเมินภาษีป้ายแล้วเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องมีสิทธิอุทธรณ์ การประเมินต่อผู้บริหารท้องถิ่น ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
การเสียเงินเพิ่ม
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายเสียเงินเพิ่มนอกจากเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้
1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบ
2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายลดน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยล่ะสิบของป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม
3. ไม่ชำระภาษีป้าย ภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือน เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินเพิ่มตามข้อ 1 และข้อ 2 ข้างต้น มาคำนวณเป็นเงินเพิ่มตามกรณีนี้
บทกำหนดโทษ
1. ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จ มาแสดงหรือหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าพันถึงห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันถึงห้าหมื่นบาท
3. ป้ายที่ติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น มีพื้นที่เกินสองตารางเมตร ต้องมีชื่อและที่อยู่ของเจ้าของป้ายเป็นตัวอักษรไทย ที่ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้าย และข้อความดังกล่าวได้รับการยกเว้นการเสียภาษีป้าย(ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษ ปรับ วันละหนึ่งบาท เรียงรายวันตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิด)
4. ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันถึงหนึ่งหมื่นบาท
5. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย แสดงหลักฐานการเสียภาษีไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบการค้า หรือประกอบกิจการ ผู้ใดไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันถึงหนึ่งหมื่นบาท
6. ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7. ในกรณีผู้กระทำความผิด ซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติ เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
การผ่อนชำระภาษี
1. ภาษีป้าย วงเงินตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป
2. ผ่อนชำระ เป็น 3 งวดเท่ากัน
3. แจ้งความจำนงเป็นหนังสือก่อนครบกำหนดเวลาชำระหนี้
4. ต้องเป็นผู้ที่ยื่นแบบภายในกำหนด